@2017 www.pe.eng.ku.ac.th                                                                                                                                                 Professional Engineering
บทที่ 3 เทคโนโลยีด้านการสำรวจ
3.1 เทคโนโลยีด้านการสำรวจ (Rosy)
การใช้รถสำรวจ Rosy สามารถจัดเก็บ
-    ข้อมูลรายการสินทรัพย์
-    ข้อมูลความเสียหายของถนน
-    บันทึกตำแหน่งพิกัดด้วย GPS
-    สามารถวัดระยะทาง และความกว้างของถนนได้
ช่วยลดระยะเวลา และแรงงานของบุคลากรในการสำรวจลงได้ค่อนข้างมาก
3.2 เทคโนโลยีด้านการสำรวจ (MMS)
    เป็นการใช้เทคโนโลยีการสำรวจที่มีความละเอียดสูง ความคลาดเคลื่อนต่ำโดยใช้เครื่องมือที่มีความทันสมัย การสำรวจการใช้ประโยชน์ที่ดินด้วยระบบทำแผนที่ชนิดเคลื่อนที่ได้บนรถยนต์(MMS)และภาพถ่ายมุมกว้าง(Panorama Image)
    ระบบโมบายแมพปิง (Mobile Mapping Systems หรือ MMS) เป็นระบบการทำแผนที่ที่อาศัยการติดตั้งเครื่องมือวัดบนพาหนะที่มีการเคลื่อนที่ มีการทำงานแบบการรังวัดวัตถุด้วยภาพถ่ายระยะใกล้
1.    Revolutionary Technology of GIS Based Data
2.    Complex Integration of High-End Hardware and Software
3.    Advantages   Rapid, Wide-range, Accurate and Multi-Purpose
4.    Different Platform   Airborne / Land-Based / Marine-Based
5.    Different Sensor Systems   Camera / LiDar / Radar / Sonar

การประยุกต์ใช้ระบบ MMS เพื่อประโยชน์ด้านงานทาง
-  งานสำรวจเพื่อทำแผนที่โครงข่ายทางหลวงทั่วประเทศ
- งานสำรวจข้อมูลสภาพทาง/โครงสร้างพื้นฐาน/กายภาพ
- งานบริหารจัดการข้อมูลด้านความปลอดภัยของผู้ใช้งาน
- งานบริหารจัดการข้อมูลทรัพย์สินด้านงานทาง

เทคโนโลยีการสำรวจข้อมูลด้วยระบบแผนที่แบบเคลื่อนที่ได้ด้านงานทาง
Site Mapping
o    งานสำรวจรังวัดแผนที่แบบเคลื่อนที่
o    สามารถสำรวจรังวัดได้อย่างรวดเร็ว
o    ลดต้นทุนและเวลาในการเก็บข้อมูลด้านงานทาง

GPS/GNSS Mapping
o    ใช้เทคโนโลยีรังวัดด้วยดาวเทียมสมัยใหม่
o    สามารถระบุตำแหน่งได้อย่างรวดเร็ว

ROW Map Development
o    สามารถสำรวจข้อมูลสภาพแวดล้อมโดยง่าย
o    มีความถูกต้องและแม่นยำ ความคลาดเคลื่อนอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด

Environment Process
o    วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ที่ได้จากการสำรวจ MMS
o    สามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลทางกายภาพอื่นๆ โดยใช้ GIS

Road Inventory
o    จัดทำข้อมูลโครงข่ายทางหลวงที่ให้ความละเอียดสูง
o    บริหารจัดการข้อมูลรายละเอียดทางโครงสร้างพื้นฐานได้ชัดเจน
o    เป็นรูปแบบมาตรฐานสากลในการจัดการข้อมูลด้านงานทาง

ตารางแสดงผลของรูปแบบการทำงาน
ระบบการเก็บข้อมูลเชิงตำแหน่งด้วย Laser Scanner
-  มีระยะการ scan ด้วยอุปกรณ์ Laser ได้ไกลสูงสุดถึง 250 เมตร
-  มีความคลาดเคลื่อนของตำแหน่งทางราบไม่เกิน 1 เซนติเมตรที่ระยะการตรวจวัด 50 เมตร
-  มีความหนาแน่นของจุด Laser ในการตรวจวัดที่ 72,000 จุดต่อวินาที ทำงานที่ 36x2 kHZ.
-  มีอุปกรณ์นำหน (IMU) เพื่อชดเชยค่าพิกัดตำแหน่งในกรณีที่เกิดจากการอับสัญญาณ
-  กล้องถ่ายภาพมีความละเอียดสูงสุดที่ 30 ล้านเมกะพิกเซล ครอบคลุมพื้นที่ 90% แบบทรงกลม
เทคโนโลยีด้านการสำรวจ (MMS) จาก Laser Point Cloud
    MMS (Mobile Mapping System)โดยเทคโนโลยีระบบการเก็บข้อมูลเชิงตำแหน่งด้วยเลเซอร์ที่ติดตั้งบนรถยนต์ใช้สำรวจข้อมูลพิกัด 3 มิติข้อมูลที่เก็บได้จะเป็นลักษณะ Real Time สามารถเก็บภาพบริเวณโดยรอบเขตทางและถนนอย่างต่อเนื่องโดยใช้เลเซอร์3มิติและกล้องดิจิตอลสำรวจในการรังวัดทั้งขนาด และการเปลี่ยนแปลงระดับความสูงผิวทางเพื่อประสิทธิภาพในการจัดการควบคุมดูแลถนน สามารถนำไปประยุกต์ เพื่อวิเคราะห์และจัดทำข้อมูล โครงสร้างพื้นฐาน ข้อมูลทรัพย์สินด้านงานทาง การประเมินความปลอดภัยของผู้ใช้ทาง อีกทั้งยังสนับสนุนการยืดอายุการใช้งานและความเหมาะสมของLife cycle costโครงสร้างพื้นฐานในสังคมอีกด้วย

การประเมินความปลอดภัยของผู้ใช้ทาง
ตรวจวัดระยะเหนือศีรษะบริเวณทางลอดหรือใต้สะพาน
Download Report กลุ่ม5/2560
หน้าหลัก
วิทยากรบรรยาย คุณประสงค์ ธาราไชย
คณะผู้จัดทำ กลุ่ม 5/2560