@2017 www.pe.eng.ku.ac.th                                                                                                                                                 Professional Engineering
บทที่ 1 ความหมายของโครงสร้างพื้นฐาน
    Infrastructure คือ โครงสร้างทางกายภาพซึ่งใช้อำนวยความสะดวกสาธารณะ ซึ่งอาจเป็นโครงการที่ภาคเอกชนหรือภาครัฐทำก็ได้  โดยมุ่งเน้นให้สาธารณะชนได้ประโยชน์  อาทิเช่น ระบบขนส่งระบบระบายน้ำ  ระบบบำบัดน้ำเสีย   เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ประเทศเกิดการพัฒนาทางด้านสังคมและเศรษฐกิจ

1.1    บทบาทของโครงสร้างพื้นฐาน  ทำไมถึงจำเป็น?
1.    ก่อให้เกิดการจ้างงาน ทั้งทางตรงและทางอ้อม
ทางตรง เช่น มีการจ้างงานเริ่มตั้งแต่วางแผนโครงการก่อสร้าง  ดำเนินการก่อสร้าง  เมื่อแล้วเสร็จก็ยังคงต้องทำการบำรุงรักษา
ทางอ้อม เช่น  เมื่อโครงสร้างพื้นฐานเข้าไปถึงทำให้เกิดเป็นแหล่งชุมชนเมือง  เกิดการพัฒนามีความเจริญมากขึ้น เช่น  มีการตั้งโรงงานอุตสาหกรรม  เป็นต้น
2.    เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เช่น เมื่อมีถนนตัดผ่านทำให้เกิดเส้นทางดีขึ้น การวางระบบประปาผ่านชุมชนชาวบ้านสามารถใช้น้ำได้ทั่วถึง แต่ก็อาจมีผลกระทบจากการขยายตัวของชุมชนได้เช่นกัน เช่น  เมื่อถนนดีขึ้นมีผู้ใช้ทางมากขึ้นก็อาจมีอุบัติเหตุเกิดมากขึ้นเช่นกัน
3.    เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้ดีขึ้น  เป็นผลมาจากมีการจ้างงานมากขึ้น
4.    ได้ผลิตผลการการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ส่งผลให้เกิดการนำเข้า - ส่งออก กระตุ้นให้เกิดการลงทุนในระบบโครงสร้างพื้นฐาน
5.    เกิดโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นระบบโครงข่าย เช่น โครงข่ายถนน โครงข่ายท่อประปา โครงข่ายระบบบำบัดน้ำเสีย
6.    เกิดระบบผูกขาดอันเนื่องมาจากระบบโครงสร้างพื้นฐาน ความหมายคือ  เป็นระบบที่มีขนาดใหญ่มีการลงทุนมาก  โดยที่ต้นทุนที่ลงไปอาจจะไม่ได้กลับคืนมาในรูปของเงิน(sunk  cost) แต่เหตุที่สามารถอยู่ได้เพราะผลจากการขยายตัวของเมือง  เช่น  ผลจากการศึกษาโครงการรถไฟฟ้าจาดทั่วโลกพบว่ายังไม่มีประเทศใดที่บริหารจัดการโครงการรถไฟฟ้าแล้วมีผลกำไร มีเพียงฮ่องกงประเทศเดียวที่ทำแล้วมีกำไร เหตุผลเพราะมีหน่วยงานด้านผังเมืองและหน่วยงานที่พัฒนาการคมนาคมเป็นหน่วยงานเดียวกัน
7.    เกิดการเสื่อมสภาพ ทำให้ต้องมีการซ่อมบำรุงรักษาเนื่องจากการเสื่อมสภาพจากการใช้งาน อาจตรงตามที่ได้ออกแบบไว้หรืออาจมากกว่าเนื่องจากเกิดการขยายตัวของเมืองอย่างรวดเร็ว

1.2    ความสำคัญของ Infrastructure พบว่าเกิดจากดัชนีการแข่งขัน  แบ่งเป็น 3 กลุ่มหลัก
1.    Basic requirements subindex
2.    Efficiency inhancerssubindex
3.    Innovation and sophistication factors subindex
    การลงทุนที่ต้องการในปัจจุบันพบว่ามีความต้องการในการลงทุนอีกมาก ในปัจจุบันรูปแบบ
    การลงทุนจึงมักเกิดเป็นเทรนการลงทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน (Public Private Partnership: PPP) เป็นรูปแบบการดำเนินงานที่ภาครัฐให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วม ในการดำเนินโครงการในการให้บริการสาธารณะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการดำเนินงานและบริการ โดยมุ่งเน้นการให้บริการที่มีประสิทธิภาพคุ้มค่ากับต้นทุนมากกว่าภาครัฐจะเป็นเจ้าของหรือดำเนินการเองโดยภาครัฐเอง ทั้งนี้การร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน สามารถก่อให้เกิดประโยชน์กับผู้ที่เกี่ยวข้องโดยโครงการจะได?รับเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่จากภาคเอกชน รวมทั้งมีการประหยัดต้นทุนของโครงการ ขณะที่ภาคเอกชนเองจะได?มีช่องทางในการดำเนินธุรกิจได้มากขึ้น นอกจากนี้ภาคประชาชนจะได้รับประโยชน์จากการบริการที่มีประสิทธิภาพด้วยราคาที่เหมาะสม

1.3 การสำรวจ Infrastructure ในประเทศไทย
    โครงสร้างพื้นฐานเป็นสิ่งจำเป็นต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมเป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศ
    ผลสำรวจทางด้าน Infrastructure การจัดอันดับพบว่าประเทศไทยอยู่ในลำดับที่ 49 โดยเรามีประเทศเพื่อนบ้านอย่างสิงคโปร์อยู่ในลำดับที่ 1(2017) ผลสำรวจดังกล่าวจะสะท้อนว่าประเทศใดน่าไปลงทุนเนื่องจากจะได้รับการตอบสนองมากที่สุด ส่งผลต่อการขับเคลื่อนบริษัทที่จะเข้าไปลงทุนมากที่สุด ประเทศทีมีระบบ Infrastructure ที่ดีจึงมีโอกาสเกิดการพัฒนาในด้านเศรษฐกิจให้เดินหน้าต่อไป

รูปแบบของ PPP
a.    Build-Transfer (BT)
การร่วมมือในลักษณะนี้เปรียบเสมือนภาครัฐได้ว่าจ้างให้เอกชนเป็นผู้ก่อสร้างโครงการโดยภาครัฐจะเป็นผู้จัดสรรเงินทุนให้ภาคเอกชน และรัฐจะเป็นผู้ดำเนินการเองขณะที่ภาคเอกชนจะเป็นผู้ออกแบบก่อสร้างและจัดสรรต้นทุนการก่อสร้าง

b.    Build-Operate-Transfer (BOT)
ภาครัฐจะให้ภาคเอกชนทำการพัฒนาและดำเนินการโครงการด้วยนอกเหนือจากการก่อสร้าง โดยภาคเอกชนจะทำสัญญากับภาครัฐเมื่อเอกชนก่อสร้างเสร็จและดำเนินงานไปจนถึงระยะเวลาหนึ่งแล?ว จะต้องโอนกรรมสิทธิ์ให้ภาครัฐ

c.    Build-Own-Operate-Transfer (BOOT) หรือ Build-Own-Operate (BOO)
ความร่วมมือนี้นับได้ว่ามีความเป็นเอกชนสูงมากผู้พัฒนาโครงการจะเป็นเสมือนเจ้าของโครงการแทนที่จะเป็นภาครัฐโครงการจะดำเนินงานตามลักษณะของเอกชนและเมื่อโครงการสิ้นสุดลง โครงการจะถูกโอนไปให้ภาครัฐหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับความตกลงของทั้งสองฝ่าย
ประโยชน์และข้อจำกัดของการลงทุนในรูปแบบ PPP
    การเพิ่มบทบาทให้หน่วยงานเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมกับรัฐบาลจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานสร้างทางเลือกทางการทำงานให้มากขึ้น และเป็นการขยายการเข้าถึงบริการของรัฐกับภาคประชาชน ในขณะที่จะเป็นการลดข้อจำกัดด้านงบประมาณการลงทุนในโครงการต่างๆของรัฐบาลในช่วงที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ทำให้รัฐบาลจัดเก็บรายได้ไม่เพียงพอกับความต?องการการลงทุน ในขณะที่การกู้เงินมักถูกจำกัดด้วยกรอบกฎหมายต่างๆ ทั้งนี้ประโยชน?ของ PPP เกิดขึ้นกับทุกฝ่ายที่มีส่วนร่วม (Stake-holders) สรุปได้ดังนี้
    1) ประโยชน์ต่อภาครัฐ โครงการ PPP สามารถสนับสนุนการดำเนินงานภาครัฐ โดยสร้างความคุ้มค่าทางการเงินจะช่วยให้ประหยัดต้นทุนได?และยังเป็นการแบ่งหน้าที่การบริหารความเสี่ยงที่ได้รับจากความรู?ประสบการณ?จากภาคเอกชน รวมถึงความสามารถในการบริหารจัดการระบบงบประมาณของภาครัฐ ในกรณีที่ภาครัฐได?พิจารณาถึงความคุ้มค่าทางการเงินแล้ว เห็นว่ามีความเหมาะสมที่จะให้เอกชนร่วมดำเนินการจะทำให้ภาครัฐสามารถจัดสรรงบประมาณดังกล่าวไปลงทุนในโครงการอื่นๆ ตามความจำเป็นและเหมาะสมมากขึ้น
    2) ประโยชน์ต่อภาคเอกชน โครงการ PPP สามารถเพิ่มโอกาสการทำธุรกิจให้กับภาคเอกชน ในการให้บริการสาธารณะด้วยความมีประสิทธิภาพและในบางครั้งที่สภาพเศรษฐกิจเริ่มชะลอตัว (Economic Downturn) จะถือว่าเป็นการสนับสนุนเศรษฐกิจของประเทศโดยส่งเสริมให้ภาคเอกชนเข้ามาร่วมลงทุนในโครงการของรัฐนอกจากนี้ในการลงทุนในรูปแบบ PPP ภาคเอกชนจะมีโอกาสเสนอแนะแนวทางในการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
    3) ประโยชน์ต่อประชาชน ในการให้บริการสาธารณะของโครงการ PPP ประชาชนผู้รับบริการสามารถได?รับบริการสาธารณะที่มีประสิทธิภาพในราคาที่เหมาะสม ภายใต้เงื่อนไขการกำกับดูแลที่เหมาะสมของภาครัฐ ให้การบริการของภาคเอกชนคู่สัญญา PPP สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความน่าเชื่อถือในการบริการ และกำหนดกลไกราคาที่เหมาะสมกับผู้บริโภค

Download Report กลุ่ม5/2560
หน้าหลัก
วิทยากรบรรยาย คุณประสงค์ ธาราไชย
คณะผู้จัดทำ กลุ่ม 5/2560