@2017 www.pe.eng.ku.ac.th                                                                                                                                                 Professional Engineering
บทที่ 3 เทคโนโลยีด้านการสำรวจ (ต่อ)
Highway Road Inventory
    การประยุกต์ใช้กล้องถ่ายภาพ 360 องศาและจุดเลเซอร์Point Cloud สำหรับวิเคราะห์แนวกึ่งกลางสายทาง Road Centerline และข้อมูลตำแหน่งทรัพย์สินในเขตทาง

วิเคราะห์และจัดทำระบบฐานข้อมูลด้านงานทาง จะได้ภาพด้านล่าง


ROW Mapping
    การประยุกต์ใช้กล้องถ่ายภาพ 360 องศาและจุดเลเซอร์ Point Cloud สำหรับวิเคราะห์แนวกึ่งกลางสายทาง Road Centerline และข้อมูลตำแหน่งทรัพย์สินในเขตทาง

3.3 วิธีการจัดเก็บข้อมูลความเสียหายของถนน
    การสำรวจข้อมูลความเสียหายของถนน สามารถสรุปได้เป็น 3 วิธี คือ
    1. ใช้บุคคลสำรวจ ทำให้ได้ข้อมูลที่มีความละเอียดสูง หากบุคคลากรที่สำรวจมีความรู้ทักษะจะทำให้ได้ข้อมูลที่มีคุณภาพแม่นยำในระดับหนึ่ง แต่มีข้อจำกัดคือทำงานได้ช้า ต้องใช้บุคลากรเป็นจำนวนมาก หากพื้นที่มีความเสียหายเป็นจำนวนมาก และใช้ต้นทุนสูงในการดำเนินการ
    2. การประเมินโดยผู้ประเมินนั่งรถ มีข้อดีคือสามารถประเมินได้ง่าย รวดเร็ว ต้นทุนน้อย แต่มีข้อจำกัดคือข้อมูลที่ได้จะแปรผันตามความรู้สึกของบุคคล ไม่เป็นมาตรฐาน คุณภาพข้อมูลที่ได้จึงขาดความแม่นยำ
    3. การใช้กล้องติดรถสำรวจ มีข้อดีคือ ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจมีความแม่นยำสูง สามารถลดความผิดพลาดจากบุคคลและสามารถตรวจสอบย้อนดูได้ แต่มีข้อจำกัดคือ ต้องใช้ผู้ดำเนินการที่มีทักษะเฉพาะในการสำรวจและวิเคราะห์ภาพ รวมไปถึงต้นทุนการดำเนินการสูง
    จากวิธีการจัดเก็บข้อมูลความเสียหายของถนนทั้ง 3 วิธี เพื่อความเข้าใจง่าย สามารถสรุปเป็นตารางดังต่อไปนี้

ตารางแสดงเปรียบเทียบวิธีการจัดเก็บข้อมูลความเสียหายของถนน
3.4 เทคโนโลยีการสำรวจสภาพถนนในระดับโครงข่าย
-    การใช้รถสำรวจชนิด  Bump Integrator และรถสำรวจ Hi- Speed Laser  เพื่อใช้วัดสภาพพื้นผิวถนน

-    การใช้กล้อง Line Scan เพื่อใช้ถ่ายภาพผิวทาตลอดแนวการสำรวจ สามารถบันทึกและนำกลับมาสรุปข้อมูลที่ได้
-    การนำภาพถ่ายจากการสำรวจเข้าประมวลผลในโปรแกรมและสามารถวิเคราะห์รอยแตก รอยร้าวประเกทต่างๆที่เกิดขึ้นได้
3.5 เทคโนโลยีการตรวจชั่งรถบรรทุกหนักแบบไม่หยุดรถชนิดติดตั้งใต้สะพาน (Bridge Weigh-in-Motion: B-WIM)
    เนื่องจากถนนในประเทศไทยความยาวรวมประมาณ 11,000 กิโลเมตร และกว่า 20 % เป็นรถบรรทุกที่มีน้ำหนักเกินพิกัด มีสถิติการเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้งและรุนแรง ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยจำเป็นต้องลดความรุนแรงของอุบัติเหตุ ดังนั้นต้องมีเครื่องมือตรวจชั่งน้ำหนักรถที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
    หลักการทำงานเทคโนโลยีดังกล่าว คือ เมื่อ รถบรรทุกเคลื่อนที่ผ่านสะพาน อุปกรณ์ที่อ่านค่าจะถูกนำไปติดตั้งใต้สะพาน เมื่อรถเคลื่อนที่ผ่าน จะมีStrain Gages คอยทำหน้าที่การยืดหดตัวจึงทำให้สามารถทราบน้ำหนักและประเภทของรถบรรทุกคันดังกล่าวได้

รูปบนแสดง หลักการทำงาน การตรวจชั่งรถบรรทุกหนักแบบไม่หยุดรถชนิดติดตั้งใต้สะพาน (Bridge Weigh-in-Motion: B-WIM)
ตัวอย่างบนแสดง ผลการบันทึกข้อมูลการตรวจชั่งรถบรรทุกหนักแบบไม่หยุดรถชนิดติดตั้งใต้สะพาน (Bridge Weigh-in-Motion: B-WIM)ทำให้ทราบถึง น้ำหนักเพลา ระยะเพลา และความเร็วของรถที่วิ่งได้
ตัวอย่างบนแสดง ผลการบันทึกข้อมูลการตรวจชั่งรถบรรทุกหนักแบบไม่หยุดรถชนิดติดตั้งใต้สะพาน (Bridge Weigh-in-Motion: B-WIM) ทำให้ทราบถึง น้ำหนักเพลา ระยะเพลา และความเร็วของรถที่วิ่งได้
ตารางบนเปรียบเทียบเทคโนโลยีการตรวจชั่งรถบรรทุกหนักแบบไม่หยุดรถชนิดติดตั้งใต้สะพาน (Bridge Weigh-in-Motion: B-WIM)กับวิธีการตรวจชั่งน้ำหนักรถบรรทุกหนักแบบต่างๆ
พรบ. จัดซื้อจัดจ้าง พ.ศ. 2560 อ่านต่อคลิกที่นี่
Download Report กลุ่ม5/2560
หน้าหลัก
วิทยากรบรรยาย คุณประสงค์ ธาราไชย
คณะผู้จัดทำ กลุ่ม 5/2560