แผนการพัฒนาระบบรางในประเทศไทย
วิทยากร
ภาพกิจกรรม
ภาพกิจกรรม
หน้าหลัก
โครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟ
โครงข่ายระบบรถไฟ
1.1    การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟ
    การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งทางบกอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือโครงข่ายรถไฟหรือโครงข่ายระบบราง ถือเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักสำคัญที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สร้างรากฐานความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคม ความปลอดภัยในการเดินทางและการขนส่ง รวมทั้งสร้างโอกาสสำหรับการใช้ประโยชน์สูงสุดจากการเป็นประชาคมอาเซียนตามเป้าหมายการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้งมุ่งเน้นประเด็นท้าทายของการพัฒนาที่จะสนับสนุนการปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งสินค้าที่พึ่งพาทางถนนเป็นหลักไปใช้การขนส่งหลักที่เป็นรูปแบบที่มีต้นทุนต่อหน่วยต่ำกว่าและการเชื่อมต่อการเดินทางและการขนส่งกับประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งการยกระดับความคล่องตัวในการเดินทางและการขนส่งไปสู่ศูนย์กลางของภูมิภาคทั่วประเทศ
   
1.2    โครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟของไทย
   โครงข่ายทางรถไฟในประเทศไทยมีระยะทางรวม 4,043 กิโลเมตร ประกอบด้วย เส้นทางสายหลักหรือสายประธาน ๕ เส้นทาง กระจายไปตามภูมิภาคต่างๆ ของประเทศครอบคลุมพื้นที่บริการ 47 จังหวัด โดยส่วนใหญ่เป็นทางรถไฟทางเดี่ยว ระยะทาง 3,763 กิโลเมตร หรือร้อยละ 93 ทางคู่ระยะทาง 173 กิโลเมตร หรือร้อยละ 4 และทางสาม ระยะทาง 107 กิโลเมตร หรือร้อยละ 3 เนื่องจากทางรถไฟทางคู่และทางสามมีระยะทางค่อนข้างน้อย ทำให้เสียเวลาในการรอสับหลีก อีกทั้งโครงข่ายทางรถไฟยังมีสภาพทรุดโทรม (มากกว่าร้อยละ 60 ของรางมีอายุเฉลี่ยเกิน 30 ปีขึ้นไป) ขาดการซ่อมบำรุง นอกจากนี้ ยังมีทางหลักผ่านของชุมชนและมีจำนวนจุดตัดระหว่างถนนกับทางรถไฟทั่วประเทศ จำนวน ๒,๔๖๐ จุด โดยเป็นทางผ่านระดับถนนที่รถไฟจะต้องหยุดหรือชะลอความเร็ว ซึ่งเป็นจุดที่เกิดอุบัติเหตุได้บ่อยครั้ง จำนวนถึง ๒,๒๐๐ จุด รวมทั้ง ยังมีทางลักผ่านของชุมชน ซึ่งเป็นปัญหาเรื่องความปลอดภัย จึงเป็นปัญหาที่ต้องเร่งพัฒนาโครงข่ายทางรถไฟและมาตรการเรื่องความปลอดภัย
    แม้ว่าเส้นทางของรถไฟจะถูกสร้างครอบคลุมทุกภูมิภาคทั่วประเทศ แต่ข้อจำกัดในการขนส่งทางรถไฟของประเทศไทยยังคงมีปัจจัยอื่นๆ ที่ต้องพัฒนาอีกมาก ไม่ว่าจะเป็นจำนวนหัวลากที่ยังไม่เพียงพอ กฎระเบียบบางอย่างที่ยังไม่เอื้ออำนวยต่อการทำธุรกิจ ผู้ประกอบการจึงต้องติดตามโครงการพัฒนาฯ ที่ภาครัฐได้พิจารณาที่จะดำเนินการอย่างใกล้ชิดต่อไป เพราะรูปแบบในการขนส่งสินค้า ไม่ว่าจะเป็นการขนส่งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ หรือทางราง; เป็นปัจจัยอย่างหนึ่งที่ธุรกิจจะต้องพิจารณาเพื่อให้ต้นทุนในการขนส่งมีประสิทธิภาพซึ่งจะทำให้ระบบโลจิสติกส์กลายเป็นปัจจัยที่เพิ่มมูลค่าและเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขันให้กับธุรกิจได้อย่างแท้จริง

1.3    ประเด็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟของไทย
    1.3.1    การปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งที่พึ่งพาทางถนนเป็นหลักไปใช้การขนส่งหลัก (Main Line) ที่เป็นรูปแบบที่มีต้นทุนต่อหน่วยต่ำกว่า อย่างเช่น การขนส่งทางรถไฟ
    1.3.2 การเชื่อมต่อการเดินทางและการขนส่งกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการของประตูการขนส่งที่มีศักยภาพ และการปรับปรุงโครงข่ายเชื่อมโยงรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
    1.3.3    การยกระดับความคล่องตัวในการเดินทางและการขนส่งไปสู่ศูนย์กลางของภูมิภาคทั่วประเทศ

1.4    เป้าหมายการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟในอนาคต
    1.4.1    เสริมสร้างรากฐานความมั่นคงทางสังคม
ด้วยการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างทั่วถึง
    1.4.2    เสริมสร้างรากฐานความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
โดยลดต้นทุนการขนส่ง เพิ่มความเร็วในการเดินทาง และกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในภาคการผลิตและดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
    1.4.3    เสริมสร้างความมั่นคง ความปลอดภัย
ในการเดินทางและการขนส่งและเกิดการพัฒนาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและยั่งยืน
    1.4.4    สร้างโอกาสสำหรับการแข่งขันและให้ประเทศได้ประโยชน์สูงสุดจากการเป็นประชาคมอาเซียน

1.5    แผนงานการพัฒนาโครงข่ายรถไฟระหว่างเมือง
    การพัฒนาโครงข่ายรถไฟระหว่างเมืองจะดำเนินการปรับปรุงระบบอุปกรณ์และโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งทางราง และพัฒนาระบบรถไฟทางคู่ที่มีความพร้อมดำเนินการ 6 สายแรก และเร่งผลักดันให้สามารถดำเนินการก่อสร้างทางคู่ขนาดรางมาตรฐาน (Standard Gauge) เชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านและสาธารณรัฐประชาชนจีน (จีนตอนใต้) เพื่อให้รถไฟเป็นทางเลือกใหม่ของการเดินทาง และสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันของประเทศ

ภาพและวีดีโอ : ไทยรัฐทีวี
โครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟ