แผนการพัฒนาระบบรางในประเทศไทย
วิทยากร
ภาพกิจกรรม
ภาพกิจกรรม
หน้าหลัก
โครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟ
โครงข่ายระบบรถไฟ
    การขนส่งทางระบบราง" หรือ "การขนส่งทางรถไฟ" เป็นรูปแบบการขนส่งที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (ย้อนไปตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) โดยถือกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ.2429 เส้นทางจากกรุงเทพฯถึงสมุทรปราการ ระยะทาง 21 กิโลเมตร ต่อมาเมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ.2439 จึงได้มีพิธีเปิดการเดินรถไฟระหว่างกรุงเทพฯ - อยุธยา ระยะทาง 71 กิโลเมตร และได้ถือเอาวันนั้นเป็น "วันสถาปนากิจการรถไฟหลวง" อย่างเป็นทางการ การขนส่งทางรถไฟ ทำให้สามารถขนส่งสินค้าได้ครั้งละจำนวนมากจึงทำให้ค่าใช้จ่ายในการขนส่งต่อหน่วยต่ำกว่าการขนส่งในรูปแบบอื่น อีกทั้งก่อให้เกิดมลภาวะน้อยกว่าทางถนนด้วย สินค้าที่นิยมขนส่งจึงมักเป็นสินค้าที่มีมูลค่าต่ำและน้ำหนักมากๆ เช่น ปูนซิเมนต์ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เป็นต้น ส่วนข้อเสียของการขนส่งทางรถไฟ คือ ใช้ระยะเวลาในการเดินทางนาน บรรจุภัณฑ์ของสินค้าจะต้องสามารถทนต่อแรงกระแทกสูงได้ เพราะต้องมีการขนถ่ายซ้ำ จากสถานีรถไฟไปยังสถานที่ปลายทาง และเหนือสิ่งอื่นได้ ข้อจำกัดทางด้านรางรถไฟ (เส้นทางที่มีอยู่จำกัด)  ทำให้การขนส่งทางรถไฟมีความน่าเชื่อถือน้อยกว่าการขนส่งแบบอื่น เนื่องจากจะต้องให้ความสำคัญกับการโดยสารก่อนการขนส่งสินค้านั่นเอง


    นิสิตกลุ่มที่ 8 โครงการ วิศวกรรมโครงสร้างพื้นฐานและการบริหาร มหาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการ จัดทำรายงานวิชา สัมมนา (Seminar) ในหัวข้อ โครงข่ายระบบรางของประเทศไทยและภูมิภาค ซึ่งมีการเรียนการสอนในวันที่ 7 ตุลาคม 2560 นั้น เพื่อเป็นการวิเคราะห์และสรุปเนื้อหา จัดทำรายงาน และจัดทำสื่อนำเสนอสื่อการเรียนรู้ผ่านเว็บไซต์ เพื่อเป็นการถ่ายทอดความรู้ที่ได้ศึกษาแก่ผู้ที่สนใจต่อไป
    การดำเนินการจัดทำรายงานและสื่อการเรียนรู้ดังกล่าว สามารถเสร็จสมบูรณ์ได้ โดยได้รับความความอนุเคราะห์ข้อมูล จาก พ.ท.ดร.สรวิศ สุภเวชย์ อาจารย์ สาขาวิชาวิศวกรรมสำรวจและสารสนเทศภูมิศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา รวมถึงการให้ความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่โครงการฯ และเพื่อนร่วมรุ่น PE14 เป็นอย่างดี
    อย่างไรก็ตามรายงานฉบับนี้อาจมีข้อผิดพลาดอยู่บ้าง ทางคณะผู้จัดทำรายงาน จึงขออภัยล่วงหน้าสำหรับข้อผิดพลาดดังกล่าว และจะนำมาปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นในการทำรายงานฉบับต่อๆ ไป