1.1 ความเป็นมา
การวางแผนในประเทศไทยเริ่มขึ้นในช่วง พ.ศ. 2493 ในยุคของจอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรีมีนโยบายเศรษฐกิจชาตินิยมการเมือง ในประเทศมีลักษณะรวมศูนย์สั่งการ รัฐบาลให้ความสำคัญด้าน เศรษฐกิจโดยจัดตั้ง "สภาเศรษฐกิจแห่งชาติ" ขึ้น มีหน้าที่สำคัญ คือ ให้ความคิดเห็นในเรื่องสำคัญด้าน เศรษฐกิจแก่คณะรัฐมนตรีรวบรวมสถิติของชาติและให้ความร่วมมือกับ ต่างประเทศในโครงการความช่วยเหลือต่างๆ
พ.ศ. 2494 มีการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการกับต่างประเทศ (ก.ศ.ว.) บทบาทและผลงานสำคัญประการหนึ่งของคณะกรรมการชุดนี้คือ การจัดทำ "ผังเศรษฐกิจ" ช่วง พ.ศ. 2496-2499 ซึ่งถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการวางแผนเศรษฐกิจแห่งชาติ ผังเศรษฐกิจมีลักษณะการจัดลำดับ ความสำคัญของงาน และการทำแผนแม่บทเพื่อไปจัดทำงบลงทุนของรัฐบาล ซึ่งงบลงทุนจะเป็นส่วนหนึ่งของการขอความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและวิชาการจากต่างประเทศ บุคคลที่มีบทบาทสำคัญในการวางผังเศรษฐกิจเช่น ม.ล.เดช สนิทวงศ์ คุณสุนทร หงส์ลดารมภ์ (เลขาธิการฯคนแรกของสภาเศรษฐกิจแห่งชาติ) คุณบุญชนะอัตถากร ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์
ใน พ.ศ. 2498 ประเทศไทยได้ขอความช่วยเหลือไปยัง ธนาคารโลก ให้จัดส่งผู้เชี่ยวชาญมาสำรวจเศรษฐกิจของประเทศไทย และทำรายงานเสนอรัฐบาล ซึ่งธนาคารโลกได้ตอบรับและส่งคณะสำรวจ เศรษฐกิจประเทศไทยมาดำเนินการเมื่อปี พ.ศ.2500 การสำรวจครอบคลุม ด้านสาธารณูปโภค การศึกษา และสังคม ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจ ดังกล่าวมีความสำคัญและเป็นประโยชน์ในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ ของประเทศไทยต่อมา
ต่อมาในปี พ.ศ. 2502 "สภาเศรษฐกิจแห่งชาติ" ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ" และได้จัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 ใช้ในช่วงระยะเวลา 6 ปี (พ.ศ.2504-พ.ศ.2509) หลังจากนั้นการกำหนดแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับต่อมาจะกำหนดระยะเวลาในการใช้ทุกๆช่วง 5 ปี ซึ่งแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับปัจจุบัน เป็นฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-พ.ศ.2564)
บทที่ 1 การวางแผนในประเทศไทย
การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีผลอย่างยิ่งต่อในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ แต่ประสบการณ์การวางแผนเพื่อการพัฒนาระบบขนส่งที่ผ่านมายังไม่ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ เนื่องจากสาเหตุปัจจัยต่างๆ ดังนั้นในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งจำเป็นต้องเข้าใจปัญหาและวิเคราะห์หาสาเหตุที่เกิดขึ้นจากการวางแผนโครงการต่างๆในอดีตที่ผ่านมา เพื่อนำมาใช้เป็นบทเรียนในการพัฒนาในอนาคตให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืน ดังเช่นคำที่กล่าวไว้ว่า "ถ้าวางแผนไม่ดี การจัดการบูรณการไม่ดี จะมีปัญหาที่แก้ได้ยากตามมาภายหลัง"
1.2 ปัญหาด้านการวางแผนที่เกิดขึ้นปัจจุบัน
การวางแผนการดำเนินงานหรือการพัฒนาโครงการต่างๆในประเทศไทยในอดีตที่ผ่านมามักจะเกิดปัญหาเสมอ ดังกรณีตัวอย่างดังต่อไปนี้