การวางแผนในประเทศไทย
การวางแผนการขนส่ง
วิทยากรบรรยาย
ภาพบรรยากาศ
ผู้จัดทำ
    1.3 ความเหลื่อมล้ำ      
    ความเหลี่อมล้ำและความไม่เท่าเทียมกันเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมไทยปัจจุบัน มีสาเหตุมาจากงบประมาณในการลงทุนมีจำกัดและการวางแผนที่ไม่คิดให้รอบด้าน ซึ่งหากพิจารณาการวางแผนด้านการขนส่ง หากจะมุ่งเน้นในการพัฒนาแต่ระบบขนส่งมวลชนประเภทรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครอย่างเดียว ซึ่งมีมูลค่าในการลงทุนสูง ประชาชนที่รับผลประโยชน์จะจำกัดวงเพียงประชาชนที่อยู่ในกรุงเทพมหานครเท่านั้น งบประมาณเหล่านั้นอาจจะเบียดบังงบประมาณในการก่อสร้างถนนลาดยางในต่างจังหวัดซึ่งจะทำให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ต่างหวัดเสียโอกาสในการได้รับบริการนั้นไป  ดังนั้นนักวางแผนจำเป็นต้องทราบถึงข้อมูลพื้นฐานเบื้องต้นที่สะท้อนถึงความเหลื่อมล้ำ เพื่อให้แผนงานหรือโครงการที่จะดำเนินการ สามารถลดความเหลื่อมล้ำหรือสร้างความเท่าเทียมกันในสังคมได้ดีมากขึ้น

1.3.1 สัมประสิทธิ์จีนี (Gini coefficient)
    ตัวชี้วัดความเหลื่อมล้ำ จะใช้สัมประสิทธิ์จีนี (Gini coefficient) ซึ่งเป็นวิธีวัดการกระจายของข้อมูลทางสถิติอย่างหนึ่งที่นิยมใช้เป็นตัวบ่งชี้ความเหลื่อมล้ำ ถูกพัฒนาขึ้นโดยนักสถิติชาวอิตาลีชื่อ คอร์ราโด จีนี สัมประสิทธิ์จีนีถูกนิยามให้เป็นอัตราส่วนซึ่งมีค่าระหว่าง 0 และ 1 สัมประสิทธิ์จีนีที่ต่ำจะแสดงถึงความเท่าเทียมกัน หากค่านี้สูงขึ้นจะบ่งชี้ถึงความเหลื่อมล้ำที่มากขึ้น สัมประสิทธิ์จีนีที่เท่ากับ 0 หมายถึงความเท่าเทียมกันอย่างสมบูรณ์และ 1 หมายถึงความเหลื่อมล้ำอย่างสมบูรณ์

1.3.2 ความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย
    ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ หรือ GDP (Gross Domestic Product) ปัจจุบันมีค่าประมาณ 15 ล้านล้าน รายได้ของรัฐบาลที่จัดเก็บมาได้อยู่ที่ 18 % ของ GDP และตั้งงบประมาณประจำปีจะจัดสรรงบประมาณประมาณ 20 % ของ GDP นั่นคือในแต่ละปีรัฐบาลต้องกู้เงินประมาณ  2% ของ GDP เพื่อนำมาใช้ในการบริหารประเทศ
ซึ่งรายได้ของรัฐบาลประมาณ 20 % ของ GDP เกือบทั้งหมดมาจากภาษีที่เก็บจากประชาชน จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติและกรมสรรพากร ปี พ.ศ.2557 พบว่ามีประชาชนที่เสียภาษีมีจำนวนเพียง 4 ล้านคนจากประชากรในประเทศไทยทั้งหมด 65 ล้านคน ส่วนประชาชนที่ไม่ได้เสียภาษี จำนวน 61 ล้าน สามารถจำแนกออกได้หลายกลุ่มได้แก่  กลุ่มไม่มีงานทำ จำนวน 27.4 ล้านคน กลุ่มนอกกำลังแรงงาน จำนวน 16.5 ล้านคน กลุ่มนอกระบบภาษี จำนวน 28 ล้านคน กลุ่มยกเว้นระบบภาษี จำนวน 6.3 ล้านคน ดังแสดงในรูปที่ 4
    จากข้อมูล ปี พ.ศ.2554 พบว่า กรุงเทพมหานครมีประชากรคิดเป็น 17% ของประชากรทั้งหมดแต่ได้รับงบประมาณถึง 72% ถ้าเทียบกับภาคอื่นๆของประเทศ มีประชากรประมาณ 10 % แต่จะได้รับงบประมาณเฉลี่ย 7-8 % เท่านั้น
    ปัจจุบันพบว่าความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นในประเทศไทย นอกจากระบบภาษีที่กล่าวไว้ขั้นต้น ยังมีความเหลื่อมล้ำด้านสินทรัพย์ในประเทศไทยที่มีค่า สัมประสิทธิ์จีนีเท่ากับ 0.7 และ ความเหลื่อมล้ำด้านการถือครองที่ดินที่มีค่า สัมประสิทธิ์จีนีสูงถึง 0.9

รูปที่ 4 : แสดงจำนวนประชากรที่เกี่ยวข้องกับระบบภาษี
ไปหน้า 3
กลับหน้า 1