การวางแผนในประเทศไทย
การวางแผนการขนส่ง
วิทยากรบรรยาย
ภาพบรรยากาศ
ผู้จัดทำ
2.1 การวิเคราะห์ความต้องการเดินทาง  (Travel demand analysis)  
การวิเคราะห์ความต้องการเดินทาง (Travel demand analysis) เป็นขั้นตอนพื้นฐานที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งสาหรับกระบวนการวางแผนการขนส่ง การวิเคราะห์ความต้องการเดินทางทำให้ผู้วางแผนการขนส่งทราบถึงปริมาณการเดินทางที่เกิดขึ้นในปัจจุบันในช่วงเวลาที่ทำการวิเคราะห์นั้น และปริมาณการเดินทางที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งได้จากการนำข้อมูลปริมาณการเดินทางที่เกิดขึ้นในปัจจุบันมาวิเคราะห์และคาดการณ์ไปในอนาคต ด้วยเหตุนี้อาจกล่าวได้ว่าการวิเคราะห์ความต้องการเดินทางนั้นเกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ 2 ขั้นตอน (วิโรจน์ รุโจปการ, 2544) ได้แก่
    2.1.1 การวิเคราะห์ความต้องการเดินทางที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ขั้นตอนนี้จะเกี่ยวข้องกับการกำหนดขอบเขตการวิเคราะห์  กำหนดปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความต้อการการเดินทาง วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยและความต้องการเดินทาง  รวมถึงการนำปัจจัยเหล่านั้นมาพัฒนาแบบจำลองที่่จะนำไปใช้พยากรณ์ความการเดินทาง
    2.2.2 การพยากรณ์ความต้องการเดินทาง  เป็นการนำแบบจำลองที่ถูกสร้างขึ้นมาจากขั้นตอนแรกมาใช้วิเคราะห์ปริมาณการเดินทางในอนาคตโดยพิจารณาถึงบริบทของการใช้ประโยชน์ที่ดิน นโยบายด้านขนส่ง จำนวนประชากร และโครงขายถนนในปีอนาคต
    แบบจำลองที่จะนำใช้ในการคาดการณ์ปริมาณการเดินทางที่จะเกิดขึ้นในอนาคต จะพัฒนาตามหลักวิธีมาตรฐาน 4 ขั้นตอน (Conventional 4 -step model) ดังแสดงในรูปที่ 5 ขั้นตอนการศึกษาวางแผนด้านการจราจรและขนส่งดังแสดงในรูปที่ 6

บทที่ 2 การวางแผนการขนส่ง (Transport Planning)

การวางแผนการขนส่ง (Transportation Planning) คือกระบวนการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับระบบการขนส่งในอนาคต ซึ่งมักจะมุ่งเน้นในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความต้องการการขนส่งในอนาคต ความสัมพันธ์ระหว่างระบบขนส่งและโครงสร้างพื้นฐาน ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะการใช้พื้นที่เศรษฐกิจ และการขนส่ง ทางเลือก สําหรับดำเนินการระบบขนส่ง ผลกระทบด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมเนื่องมาจากระบบขนส่ง และการลงทุนและการบริหารองค์กรเพื่อดำเนินการตามแผนการขนส่ง เป็นต้น
รูปที่ 5 : Conventional 4 -step model
รูปที่ 6 : ขั้นตอนการศึกษาวางแผนด้านขนส่ง
ต่อหน้า 2