พื้นที่แก้มลิงในเขตจังหวัดนครสวรรค์
1.กลุ่มที่อยู่นอกเขตโครงการชลประทาน ได้แก่ พื้นที่ในเขตจังหวัดนครสวรรค์ (NW) ได้แก่ NW1
2. กลุ่มที่อยู่ในเขตโครงการชลประทาน ได้แก่ โครงการฯ ท่าบัว (TB) ได้แก่ TB4
3.โครงการแก้มลิงในเขตพื้นที่แก้มลิงธรรมชาติและที่มีอยู่แล้วในปัจจุบันมี ได้แก่ บึงบอระเพ็ด (NW2)
การจัดการน้ำในแก้มลิงบึงทะเลหลวงให้เป็นส่วนหนึ่งของแก้มลิงพื้นที่ลุ่มต่ำเหนือจังหวัดนครสวรรค์
บึงทะเลหลวงรับน้ำจากคลองทางไม้ ผ่านความจุที่ระดับต่างๆ ดังนี้
- ระดับน้ำต่ำสุด +45.50 ม.รทก. ความจุ 7.2 ล้าน ลบ.ม.
- ระดับน้ำควบคุม +49.00 ม.รทก. ความจุ 32.4 ล้าน ลบ.ม.
- ระดับน้ำสูงสุด +50.00 ม.รทก. ความจุ 34.2 ล้าน ลบ.ม.
" ระบายน้ำออกทางทิศใต้ที่คลองระบายน้ำท้ายบึงทะเลหลวง โดยผ่าน ปตร. ขนาด 2-? 6.00x5.00 ม. และอาคารระบายน้ำฉุกเฉิน กว้าง 50 ม.
อาคารท่อระบายน้ำชนิดรับน้ำสองทาง ขนาด 2- ? 2.00x2.00 ม. จำนวน 8 แห่ง และอาคารท่อระบายน้ำชนิดรับน้ำสองทาง ขนาด 3- ? 2.00x2.00 ม. จำนวน 5 แห่ง โดยรอบๆ บึงทะเลหลวงทำหน้าที่รับน้ำเข้าและระบายน้ำออกจากบึงทะเลหลวง
รายละเอียดของอาคารทั้งหมดดังนี้
1.ประตูระบายน้ำ (ปตร.)
- ประตูระบายน้ำ(ปตร.) เดิม จำนวน 22 อาคาร
- ประตูระบายน้ำ(ปตร.) สร้างใหม่ จำนวน 32 อาคาร
2.ท่อระบายน้ำ (ทรบ.)
- ท่อระบายน้ำ (ทรบ.)เดิม จำนวน 67 อาคาร
- ท่อระบายน้ำ (ทรบ.)สร้างใหม่ จำนวน 173 อาคาร
- ท่อระบายน้ำ (ทรบ.)ปรับปรุง จำนวน 49 อาคาร
3.อาคารจ่ายน้ำ สร้างใหม่ จำนวน 56 อาคาร
4.สถานีสูบน้ำ
- สถานีสูบน้ำ เดิม จำนวน 10 อาคาร
- สถานีสูบน้ำสร้างใหม่ จำนวน 81 อาคาร
5.งานคันดิน
- งานคันดินป้องกันน้ำท่วม ความยาว 648.587 กิโลเมตร
- งานคันดินเข้า-ออกชุมชน ความยาว 282.113 กิโลเมตร
- งานคันดินป้องกันน้ำท่วมชุมชน ความยาว 35.631 กิโลเมตร
6.งานขุดลอกคลองระบายน้ำ ความยาว 1,522.696 กิโลเมตร
ขั้นตอนการดำเนินงาน (Roadmap)
ผลสัมฤทธิ์/ผลประโยชน์/ผลกระทบและการป้องกันลดผลกระทบ
ผลประโยชน์จากการพัฒนาพื้นที่แก้มลิง 69 พื้นที่
1. ครัวเรือนที่อยู่ในพื้นที่แก้มลิงควบคุม 57,325 ครัวเรือน ประชากร 163,672 คน
ผลประโยชน์ ได้รับการป้องกันน้ำท่วมเมื่อเกิดน้ำหลากไม่สูงมากนัก และสามารถบริหารจัดการน้ำได้ในพื้นที่ควบคุมในสภาวะปกติตามความต้องการของเกษตรกรในพื้นที่
ผลกระทบ หากมีการประกาศใช้พื้นที่แก้มลิง พื้นที่เกษตรกรรมในพื้นที่ควบคุมจะถูกน้ำท่วมพื้นที่เสียหาย แต่จะได้รับค่าชดเชยความเสียหายอย่างเป็นธรรม ในกรณีที่มีการทำข้อตกลงส่งน้ำในเดือนเมษายน และปล่อยพื้นที่ว่างไว้ในช่วงเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม ก็สามารถลดความเสียหายลงได้มากหรือไม่มีเลย
2. ครัวเรือนที่อยู่ในพื้นที่แก้มลิงและพื้นที่โดยรอบรวมทั้งสองฝั่งแม่น้ำยมและน่าน ท้ายน้ำจากพื้นที่แก้มลิงไปจนถึงจุดบรรจบแม่น้ำปิง ประมาณ 122,315 ครัวเรือน ประชากร 348,309 คน ใน 23 อำเภอ 178 ตำบล 1,710 ชุมชน
ผลประโยชน์ จากการบรรเทาน้ำท่วม และมีน้ำไว้ใช้ในการเกษตรกรรมในฤดูแล้ง
3. พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง
ผลประโยชน์ จากการบรรเทาน้ำท่วม ถึงแม้จะลดลงไม่ได้มากนักเนื่องจากพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาและสาขามีพื้นที่ค่อนข้างมากเมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่แก้มลิงควบคุม แต่ความเสียหายในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาค่อนข้างสูง อย่างเช่นในปี 2554 การลดระดับน้ำท่วมเพียงเล็กน้อยก็จะสามารถบรรเทาน้ำท่วมเมื่อคิดเป็นมูลค่าแล้วค่อนข้างมาก
การจัดการน้ำในแก้มลิงบึงบอระเพ็ดให้เป็นส่วนหนึ่งของแก้มลิงพื้นที่ลุ่มต่ำเหนือจังหวัดนครสวรรค์
1) การไหลของน้ำเข้าพื้นที่แก้มลิง
" รับน้ำจากลำน้ำหลายสายไหลลงสู่บึง เช่น ห้วยหิน ห้วยหรัง ห้วยลา คลองขุด คลองท่าตะโก คลองบอน ฯลฯ
2) อาคารระบายน้ำออกจากพื้นที่แก้มลิง
อาคารควบคุมการระบายน้ำ ประกอบด้วย
" ฝาย คสล. ยาว 350 ม. สันฝายระดับ +24.00 ม.รทก. และปตร.ขนาด 2-6.00x5.00 ม
" ปตร.ขนาด1-12.00x5.00 ม.
การจัดการน้ำในแก้มลิงบึงสีไฟให้เป็นส่วนหนึ่งของแก้มลิงพื้นที่ลุ่มต่ำเหนือจังหวัดนครสวรรค์
ในเบื้องต้นที่ปรึกษาได้วิเคราะห์ปริมาตรความจุของบึงสีไฟ ภายหลังที่มีการขุดลอกโดยกรมการทหารช่าง กองทัพบก ในปี 2557 สามารถแบ่งพื้นที่เก็บกักน้ำตามระดับความลึกของบึงได้เป็น 3 ส่วน ได้แก่
1. พื้นที่สีฟ้าเข้ม มีความลึกของน้ำสูงสุด 4 เมตร
2. พื้นที่สีฟ้ากลาง มีความลึกของน้ำสูงสุด 3.5 เมตร
3. พื้นที่สีฟ้าอ่อน มีความลึกของน้ำสูงสุด 1.5 เมตร
ซึ่งคิดเป็นความสามารถในการเก็บกักน้ำสูงสุดได้ประมาณ 17 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็นพื้นที่ผิวน้ำ 7.63 ตารางกิโลเมตร